รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
      1.รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์  โดย สุมน  อมรวิวัฒน์     
ก. ทฤษฎี/แนวคิด/หลักการของรูปแบบ 
(สุมน  อมรวิวัฒน์) 

สุมน  อมรวิวัฒน์ (2533: 168-170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมาจาก แนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่าง ๆ  การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะ เผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้น โดย
(1) การเผชิญ  ได้แก่ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
(2) การผจญ คือการเรียนรู้ที่จะต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมและมีหลักการ
(3) การผสมผสาน ได้แก่การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาให้สำเร็จ
(4) การเผด็จ คือการแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก
สุมน  อมรวิวัฒน์ ได้นำแนวคิดดังกล่าวผสมผสานกับหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการ สร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ และจัดเป็นกระบวนการเรียนการสอนขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอน           
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ     
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด (โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ใน การแก้ปัญหาและการดำรงชีวิต           
ค.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ     
กระบวนการด าเนินการมีดังนี้(สุมน อมรวิวัฒน์, 2533: 170-171; 2542: 55-146)      
1. ขั้นนำ การสร้างศรัทธา
1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของ บทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของบทเรียน 
1.2 ผู้สอนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน แสดงความรัก ความเมตตา ความจริงใจ ต่อผู้เรียน 
2. ขั้นสอน     
2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง มาฝึกทักษะการ คิดและการปฏิบัติในกระบวนการเผชิญสถานการณ์
2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ ต่าง ๆ โดยฝึกหัดการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารกับแหล่งอ้างอิงหลาย ๆ แหล่ง และตรวจสอบลักษณะ ของข้อมูลข่าวสารว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่ง่ายหรือยาก ธรรมดาหรือซับซ้อน แคบหรือกว้าง คลุมเครือ หรือชัดเจน มีความจริงหรือความเท็จมากกว่า มีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบ มีระบบ หรือยุ่งเหยิงสับสน มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีแหล่งอ้างอิงหรือเลื่อนลอย มีเจตนาดีหรือ ร้าย และเป็นสิ่งที่ควรรู้หรือไม่ควรรู้
2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่า ทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลาย ๆ วิธี (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การคิดสืบสาวเหตุปัจจัย การคิดแบบ แยกแยะส่วนประกอบ การคิดแบบสามัญลักษณ์ คือคิดแบบแก้ปัญหา คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ คิดให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย คิดแบบคุณโทษทางออก คิดแบบคุณค่า แท้-คุณค่าเทียม คิดแบบใช้อุบายปลุกเร้าคุณธรรม และคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจ โดยฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากทางเลือกต่าง ๆ และฝึกการใช้หลักการ ประสบการณ์ และการทำนาย มาใช้ในการเลือกหาทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้เลือกไว้ ผู้สอนให้คำปรึกษาแนะนำฉันท์กัลยาณมิตร โดยปฏิบัติให้เหมาะสมตามหลักสัปปุริสธรรม 7 
3. ขั้นสรุป   
3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การพูด การเขียน แสดง หรือกระทำใน รูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน     
3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน           
ง.  ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ               
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา และสามารถคิดและตัดสินใจได้อย่าง เหมาะสม


ความคิดเห็น