กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษา จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในระดับ การอุดมศึกษาตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตและ ทักษะสังคม มีวิธีการจัดการเรียนรู้หลายรูปแบบ
ดังนี้ 
 1 .การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนคิดและดำเนินการ เรียนรู้ กำหนดวัตถุประสงค์ และเลือกแหล่ง เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะน า เป็น การส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหามากกว่าการจ าเนื้อหา ข้อเท็จจริง เป็นการส่งเสริมการท างานเป็น กลุ่มและพัฒนาทักษะทางสังคม ซึ่งวิธีการนี้จะท าได้ดีในการจัดการ เรียนการสอนระดับอุดมศึกษา เพราะผู้เรียนมีระดับความสามารถทางการคิดและการด าเนินการด้วยตนเองได้ดี เงื่อนไขที่ท าให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรู้เดิมของผู้เรียน ทำให้เกิดความเข้าใจ ข้อมูลใหม่ได้ การจัด สถานการณ์ที่เหมือนจริง ส่งเสริมการแสดงออกและการน าไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้เรียนได้ ไตร่ตรองข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ท าให้ผู้เรียนตอบคำถาม จดบันทึก สอนเพื่อน สรุป วิพากษ์วิจารณ์สมมติฐานที่ได้ตั้ง ไว้ได้ดี   
2. การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (individual study) เนื่องจากผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความสามารถใน การเรียนรู้ และความสนใจในการเรียนรู้ที่ แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีเทคนิคหลายวิธี เพื่อช่วยให้ การจัดการเรียนในกลุ่มใหญ่ สามารถตอบสนองผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันได้ด้วย อาทิ  
2.1 เทคนิคการใช้ Concept Mapping ที่มีหลักการใช้ตรวจสอบความคิดของผู้เรียนว่าคิด อะไร เข้าใจสิ่งที่เรียนอย่างไรแล้วแสดงออกมาเป็นกราฟิก 
 2.2 เทคนิค Learning Contracts คือ สัญญาที่ผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันก าหนด เพื่อใช้เป็น หลักยึดใน การเรียนว่าจะเรียนอะไร อย่างไร เวลาใด ใช้เกณฑ์อะไรประเมิน  
2.3 เทคนิค Know Want-Learned ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ผสมผสานกับ การใช้ Mapping ความรู้เดิม เทคนิคการรายงานหน้าชั้นที่ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมา น าเสนอหน้าชั้นซึ่ง อาจมีกิจกรรมทดสอบผู้ฟังด้วย  
2.4 เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นการเรียนที่ท าให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยน ความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์   
3.  การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) การเรียนรู้แบบนี้มีความเชื่อพื้นฐานว่า “ผู้เรียน เป็นผู้สร้างความรู้โดยการอาศัย ประสบการณ์แห่งชีวิตที่ได้รับเพื่อค้นหาความจริง โดยมีรากฐานจากทฤษฎี จิตวิทยาและปรัชญา การศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งนักทฤษฎีสรรคนิยมได้ประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญา การศึกษา ดังกล่าวในรูปแบบและมุมมองใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 
 3.1  กลุ่มที่เน้นกระบวนการรู้คิดในตัวบุคคล (radical constructivism or personal Constructivism or cognitive oriented constructivist theories) เป็นกลุ่มที่เน้นการ เรียนรู้ของมนุษย์ เป็นรายบุคคล โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนรู้วิธีเรียนและรู้วิธี คิด เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 
3.2 กลุ่มที่เน้นการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social constructivism or socially oriented constructivist theories) เป็นกลุ่มที่เน้นว่า ความรู้ คือ ผลผลิต ทางสังคม โดยมีข้อตกลง เบื้องต้นสองประการ คือ 1) ความรู้ต้องสัมพันธ์กับชุมชน  2) ปัจจัยทางวัฒนธรรมสังคมและประวัติศาสตร์มีผล ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจึงมี บทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  
4. การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ผู้เรียน ศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการ เรียนการสอนแบบสืบค้น (Inquiry Instruction) การ เรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning) การ เรียนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) การเรียนรู้เชิง ประสบการณ์ (Experiential Learning) ซึ่งการเรียนการสอนแบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเองนี้ใช้ในการเรียนรู้ ทั้งที่เป็นรายบุคคล และ กระบวนการกลุ่ม   
5. การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการ สอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝน ทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะ วิชาชีพ การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับ แหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การก าหนดวัตถุประสงค์ การก าหนด เนื้อหา กิจกรรม และวิธีการประเมิน   
6. การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Researchbased Learning) การเรียนรู้ที่เน้น การวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้น การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของ ผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และ การทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วย ตนเองของผู้เรียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนอาจแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่ การสอนโดยใช้วิธีวิจัย เป็นวิธีสอน การสอนโดยผู้เรียนร่วมท า โครงการวิจัยกับอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยโครงการวิจัยของอาจารย์ การ สอนโดยผู้เรียนศึกษา งานวิจัยของอาจารย์และของนักวิจัยชั้นน าในศาสตร์ที่ศึกษา และการสอนโดยใช้ ผลการวิจัย ประกอบการสอน   
7. การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา    (Crystal-Based Approach)    การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วย ตนเองด้วยการ รวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสำหรับบัณฑิตศึกษา เพราะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ มีประสบการณ์เกี่ยวกับศาสตร์ที่ศึกษามา ในระดับหนึ่งแล้ว วิธีการเรียนรู้เริ่มจากการ ทำความเข้าใจกับผู้เรียนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ตาม แนวนี้ จากนั้นทำความเข้าใจในเนื้อหาและ ประเด็นหลัก ๆ ของรายวิชา มอบหมายให้ผู้เรียนไป ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดตามประเด็นที่ก าหนด แล้วให้ผู้เรียนพัฒนาแนวคิดในประเด็นต่าง ๆ แยกทีละประเด็น โดยให้ผู้เรียนเขียนประเด็นเหล่านั้นเป็นผลงาน

ในลักษณะที่เป็นแนวคิด ของตนเองที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์เจาะลึกจนตกผลึกทางความคิดเป็นของ ตนเอง จากนั้นจึง นำเสนอให้กลุ่มเพื่อนได้ช่วยวิเคราะห์ วิจารณ์อีกครั้ง 
            สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ (มปป.) ได้เสนอยุทธศาสตร์การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 5 แบบ 
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ (มปป.)
1. การเรียนแบบร่วมมือ  เป็นวิธีการเรียนที่ให้นักเรียนท างานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เกิดผลการ เรียนรู้ทั้งด้านความรู้ และทางด้านจิตใจ ช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนๆ 

2. การเรียนแบบประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จากการได้ลงมือ ปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนได้มีโอกาสรับประสบการณ์ แล้วได้รับการกระตุ้นให้สะท้อนสิ่งต่างๆ ที่ได้จาก ประสบการณ์ออกมาเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ เจตคติใหม่ๆหรือวิธีการคิดใหม่ๆ 
3. การเรียนแบบอภิปัญญา เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดโดยเป็นการคิดที่รู้ตัวว่าคิดอะไร มีวิธีคิด อย่างไร สามารถตรวจสอบความคิดของตนได้ และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนได้ด้วย
4. การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเรียนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ให้ผู้เรียนระดมสมอง ให้ผู้เรียนคิดออกแบบในวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ ให้ผู้เรียนคิดเขียนภาพในวิชา ศิลปะ เป็นต้น 
5. การเรียนแบบทำโครงงาน เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ตนเองสนใจ และทำเป็น โครงงาน (Project) อาจทำเป็น รายงาน ภาคนิพนธ์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็ได้  ตัวอย่าง  การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่เป็นรูปธรรม ที่ครูอาจารย์จะนำไปใช้ได้ โดยแยก ออกเป็นกลุ่มวิชาต่างๆ ให้เห็นชัดเจนได้ดังนี้
             1. กลุ่มคำนวณ ได้แก่วิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีคำนวณ และวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ธรรมชาติของ วิชาคำนวณต้องการความเข้าใจในกฎ ในทฤษฎีบทและที่มาของเนื้อหา ไม่ใช่การท่องจำสูตรคำนวณโดยไม่ เข้าใจ แต่เป็นการเรียนรู้ที่มาของการพิสูจน์ และการทำแบบฝึกหัดที่หลากหลาย ดังนั้นผู้เรียนต้องเรียนรู้ที่มา ของการพิสูจน์ และทำแบบฝึกหัดที่หลากหลายมากๆ 
2. กลุ่มวิทยาศาสตร์ ได้แก่วิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ ธรรมชาติ ของกลุ่มวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีรากฐานอยู่บนหลักการและเหตุผล ข้อสรุปต่างๆได้มาจากการสังเกต การ ทดลอง ดังนั้นการเรียนกลุ่มวิชานี้ผู้เรียนต้องท าการทดลองให้มากที่สุด ไม่ใช่ทดลองแห้งที่เรียกกันว่า Lab แห้ง เพราะถ้าหากทำ Lab แห้ง ผู้เรียนจะได้ความรู้เพียงระยะสั้น ลืมเร็ว ใช้เครื่องมือต่างๆไม่เป็น ทดลองไม่เป็น และทำงานไม่เป็น ดังนั้นผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนทดลองให้มากที่สุด 
3. กลุ่มภาษา ได้แก่วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน และภาษา อื่นๆ ธรรมชาติของกลุ่มภาษาคือการสื่อสาร ซึ่งครอบคลุมการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ดังนั้นการ เรียนภาษาผู้เรียนต้องฝึกพูด ฟัง อ่าน เขียนมากๆ ไม่ใช่เอาแต่ท่องจ าอย่างเดียว 
4. กลุ่มสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ ได้แก่วิชา สังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา การ ปกครอง ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาสังคมรอบตัว ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในกลุ่มวิชานี้คือการติดตามข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบันจากสื่อต่างๆ เช่นจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต แล้วคัดลอกมา เพื่อนำมาคิด น ามาวิเคราะห์กับบทเรียน ไม่ใช่คัดลอกมาท่องจ าแต่อย่างเดียว 
5. กลุ่มศิลปะ การงานและพื้นฐานอาชีพ ได้แก่  วิชา ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ คหกรรมศิลป์ เกษตรกรรมศิลป์ ธุรกิจศิลป์ ธรรมชาติของวิชาเหล่านี้ ต้องลงมือท าจริงปฏิบัติจริง ดังนั้นการเรียนวิชาเหล่านี้ ต้องลงมือทำจริงปฏิบัติจริงอาจเป็นในสถานศึกษาและในสถานประกอบการก็ได้ การลงมือทำจริงปฏิบัติจริงจะ ทำให้ผู้เรียนทำงานเป็นและนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย



ความคิดเห็น