รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE
Model)
ADDIE MODEL เป็นรูปแบบการสอนที่ออกแบบขึ้นมา
เพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System
Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนําไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียน
คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็น CAI/ CBT,
WBI/WBT หรือ e-Learning
ก็ตาม เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด
และเป็นระบบปิด (Closed System) โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ในขั้นประเมินผลซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย
และนําข้อมูลไปตรวจปรับ (Feedback) ขั้นตอนที่ผ่านมาทั้งหมด
การออกแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบแอดดี (ADDIE
model) ประกอบด้วยกิจกรรมใน การดำเนินงาน 5 กิจกรรม
ได้แก่ การวิเคราะห์ (analyze) การออกแบบ (design) การพัฒนา (develop) การนำไปใช้ (implement) และการประเมินผล (evaluate) ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดีแล้วมี ลักษณะคล้ายกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา (analyze) การนำเสนอ
แนวทางการแก้ปัญหา (design) การเตรียมการแก้ปัญหา (develop) การทดลองการแก้ปัญหา (implement) และสุดท้ายประเมินแนวทางการแก้ปัญหาว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
(evaluate) รูปแบบ ADDIE นี้
จึงเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในเรื่อง ต่าง ๆ
ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมีผู้นิยมนำไปใช้ในการออกแบบสื่อ วัสดุการเรียนการสอน
เช่น การออกแบบชุดการเรียนการสอน การออกแบบบทเรียนแบบโปรแกรม
เป็นต้น ตลอดจนนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนใน ระดับมหภาค
คือระบบการศึกษาในชุมชนและการออกแบบการเรียนการสอนในระดับห้องเรียนเพื่อ
พัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
|
(ADDIE model)
กิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบการเรียนการสอนตาม
รูปแบบของ ADDIE
model มีดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์
กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม
2) การวิเคราะห์ระบบ
สิ่งแวดล้อม และสภาพขององค์กร เพื่อพิจารณาถึงทรัพยากรและ อุปสรรคต่าง ๆ
3) การศึกษาลักษณะของกลุ่มประชากร
4) การวิเคราะห์เป้าหมายและจุดประสงค์ว่าเป็นการเรียนรู้ในลักษณะใด
เช่น การเรียนรู้ เนื้อหา การเรียนรู้ทักษะ
หรือการเรียนรู้ที่เป็นความต้องการเฉพาะ
ขั้นที่ 2 การออกแบบ
กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การกำหนดเป้าหมาย
จุดประสงค์ที่สามารถสังเกตได้ วัดได้
2) การจัดลำดับเป้าหมายและจุดประสงค์ให้ง่ายต่อการเรียนและการปฏิบัติ
3) การวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้และการปฏิบัติ
4) การพิจารณากลวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะกับเนื้อหา
การจัดกลุ่มการทำกิจกรรม ของผู้เรียนในลักษณะต่าง ๆ ในลักษณะกลุ่มและรายบุคคล
5) การคัดเลือกสื่อการเรียนการสอน
ขั้นที่ 3 การพัฒนา กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การสร้างสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบไว้
2) การทดสอบ
(try
out) สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมาย
3) การปรับปรุงสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอน
ขั้นที่ 4 การนำไปใช้
กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้ ได้แก่
1) การเผยแพร่สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น
เช่น การติดตั้ง การซ่อมบำรุงสื่อ
การจัดอบรมให้ครูรู้วิธีการใช้สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น
การให้คำแนะนำและนิเทศการใช้สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอน
2) การให้ความช่วยเหลือ
สนับสนุนให้ครูยอมรับสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอน ที่สร้างขึ้นและนำสื่อไปใช้
ขั้นที่ 5 การประเมิน กิจกรรมที่ปฏิบัติในขั้นนี้
ได้แก่
1) การสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนตามจุดประสงค์
ที่ก าหนดไว้
2) การทดสอบ
(try-out) สื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนและเครื่องมือวัด
ประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อวินิจฉัยผลการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียน
และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ความสำเร็จและความล้มเหลวในการใช้โปรแกรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์
3) การประเมินภายหลังการนำสื่อ/กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนการสอนไปใช้กับกลุ่ม ประชากร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น