บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน







บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (Designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่ส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถจัดทำได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบสามารถที่จะทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาจากภายนอก และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมดเหมือนกับเป็นคนในสำนักงาน (in-house employers)  ซึ้งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้ารเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow,1990:7-9)
1.ผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้บทบาทของการออกแบบด้วย ไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านรู้ ความชำนาญทางเนื้อหาวิชา
2.ผู้ออกแบบการเรียนการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทำงานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจำเป็นที่จะทำงานกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
3.ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคยและดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกและทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวนมาก
ตารางที่1. เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
การเรียนการสอนเชิงระบบ
1. กำหนดเป้าประสงค์ (Setting goals)
-ตำราหลักสตรูดั้งเดิมการอ้างอิงภายใน
-การประเมินความต้องการจำเป็น
-การวิเคราะห์งาน
-การอ้างอิงภายนอก
2.  จุดประสงค์ (Objectives)
-กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆหรือการปฏิบัติของครู
-เหมือนกันสำหรับนักเรียนทุกคน
-จากการประเมินความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์/การประเมินงาน
-เลือกด้วยพิจารณาจากความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
       3. จุดประสงค์ในความรู้เฉพาะของผู้เรียน
(Students knowledge of objectives)
-ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องใช้สัญญาณจากการฟังคำบรรยายและการอ่านตำรา
-บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษล่วงหน้าก่อนเรียน
       4.   ความสามารถก่อนเข้าเรียน (Entering capability)
-ไม่ต้องใส่ใจ นักเรียนทุกคนมีจุดประสงค์และวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมเหมือนกันหมด
-การพิจารณา
-การกำหมดวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมแตกต่างกัน
      5.  ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง (Expected achievement)
-ใช้โค้งมาตรฐาน
-มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
       6. ความรอบรู้ (Mastery)
-นักเรียนส่วนน้อยรับรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
-รูปแบบผิดพลาด

-นักเรียนส่วนใหญ่รับรู้จุดประสงค์ทั้งหมด

       7. ค่าระดับและการเลื่อนระดับ (Grading and promotion)
-อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆ
-อยู่บนพื้นฐานการรอบรู้จุดประสงค์
       8. การสอนเสริม (Remediation)
-บ่อยครั้งที่ไม่มีการว่างแผน
-ไม่มีการแปลงเปลี่ยน
-วางแผนสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือแสวงหาจุดประสงค์

-จุดประสงค์หรือวิธีการเรียนการสอน

-อื่นๆ เลือกวิธีการเรียนการสอน

       9.การใช้แบบทดสอบ
-กำหนดค่าระดับ
-เฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
-ตัดสินความรู้
-วินิจฉัยความยากลำบาก
-ปรับปรุงการเรียนการสอน
        10. เวลาศึกษากับความรอบรู้ (Stidy time vs mastery)
-เวลาคงที่:ระดับของความรอบรู้หลากหลาย แตกต่างกัน
-ความรอบรู้คงที่:เวลาหลากหลายแตกต่างกัน
       11.  การตีความของความล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้ (Interpretation of failure to reach mastery)
-นักเรียนผู้สงสาร
-มีความต้องการจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการเรียนการสอน
       12.  การพัฒนารายวิชา (Course of development)
-เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
-ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้วจึงจะเลือกวัสดุอุปกรณ์
       13. ลำดับขั้นตอน (Sequence)
-อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและสังเขปหัวเรื่อง
-อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อนตามความจำเป็นและหลักการของการเรียนรู้
       14.  การปรับปรุงการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ (Revision of instructional and materials)
-อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดางาน หรือความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ใหม่
-เกิดขึ้นเป็นพักๆ
-อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูล
-เกิดขึ้นเป็นจำ
        15.  กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategies)
-พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
-อยู่บนพื้นฐานของความชอบและความคล้ายคลึง
-เลือกที่จะให้ได้รับตามจุดประสงค์
-ใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย
-อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและการวิจัย
        16.  การประเมินผล (Evaluation)
-บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น : การวางแผนเชิงระบบมีน้อย
-ประเมินแบบอิงกลุ่มข้อมูลได้จากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

-การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้นประจำ
-ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
-ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลได้จากผลที่ได้รับ(ผลผลิต) 

ตารางที่ 2. งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน

ขั้นตอนและภาระงาน
ตัวอย่างภาระงาน
ตัวอย่างผลผลิต
การวิเคราะห์-กระบวนการของการนิยามว่าต้องเรียนอะไร
-ประเมินความต้องการจำเป็น
-ระบุปัญหา
-วิเคราะห์ภาระงาน
-แฟ้มผู้เรียน
-การพรรณนาข้อจำกัด
-คำกล่าวของความต้องการจำเป็นและปัญหา
-การวิเคราะห์ภาระงาน
การออกแบบ-กระบวนการของการชี้เฉพาะว่าจะเรียนอะไร
-เขียนจุดประสงค์
-พัฒนารายการของแบบทดสอบ
-วางแผนการเรียนการสอน
-ระบุแหล่งทรัพยากร
-จุดประสงค์ที่วัดได้กลยุทธ์การเรียนการสอน
-ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ (prototype specification)
การพัฒนา-กระบวนการของหน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
-ทำงานกับผู้ผลิต
-พัฒนาคู่มือ แผนภูมิโปรแกรม
-สตอรี่บอร์ด (Story board)
 -สคริป
-แบบฝึกหัด
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การนำไปใช้-กระบวนการของการก่อตั้งโครงการในบริษัทแห่งโลกความจริง
-การฝึกอบรมครู
-การทดลอง

-การให้ความเห็นของนักเรียนข้อมูล
การปะเมินผล-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับความเห็นผลของการเรียนการสอน
-บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา
-ผลการแปลความแบบทดสอบ
-สำรวจผู้สำเร็จการศึกษา
-ทบทวนกิจกรรม
-คำรับรอง
-รายงานโครงงาน
-ทบทวนตัวแบบ
ที่มา  พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

ความคิดเห็น