ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน


1
1.ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
  คิดและคาเรย์ กล่าวว่า  ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอนคือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ (Disk and Carey 1985:8)
 การประกาศรับสมัครในตำแหน่งดังกล่าวนี้อได้จัดทำขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรีไมล์และเชอร์โนบิล (three mile and Chermobyl): ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์ วิธีการหนึ่งที่พิสูจน์ข้อผูกผันที่มีคุณภาพต่อการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์ คือ การผ่านการรับรองในเรื่องการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน  การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพ การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย
ในกรณีขอวเตาปฏิกรณ์ปรมาณู (nuclear power plant) ที่ควบคุมการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในด้านการป้องกันและความพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุ  สถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งองค์กรเพื่อจัดทำนโยบายของตนเองโดยมีมาตรฐานคำสั่งสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐานประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสถาบันจะเป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปรมาณู และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรมณ์ในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย  (Vandergrift, 1983)
งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน คือ นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อนที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน วิธีการในลักษณะนี้จะเสร็จแล้วได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และใช้การวิจัยและความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากกสาขาวิชาอื่นๆ  เช่น วิศวกรรมศาสตร์  จิตวิยา และศิลปะ (Vandergrift, 1983)ดังข้องสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์และเวเกอร์ (Gagne, Briggs, and Wager) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องดังนนี้คือ
1)      มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล
2)      เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์
3)      ควรดำเนิการวิธีเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนามนุษย์
4)      ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร
(Gagne, Briggs, and Wager, 1992 : 4-5)
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณืที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล อละมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
2.นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
 ริตา ริชชี ( Rita Richey, 1986: 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะการพัฒนา การประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวก ให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย
ไชยยศ  เรืองสุวรรณ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย
 ( Tyler, 1974 : 1)
1.      จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนและผุ้เข้ารับการฝึกอบรมณ์
2.      ต้องการให้ผู้เรียน หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมณ์ได้เรียนรู้อะไรและมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
3.      ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
4.      จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการประเมิลผล
            ส่วนชีลล์และกลาสไกว์ ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา (process and discipline)  ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเฉพาะที่ใช้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอน ในฐานะที่เป็นสาขาวิชา (discipline of an area of study) จะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาความเฉพาะเจาะจง นั้นๆการออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง การสร้างสรรค์ความเฉพาะเจาะจงสำหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการพัฒนา การประเมิน การบำรุงรักษา การเผยแพร่สถานการณ์การเหล่านั้น
อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุจุดหมายโดยอาศัยความรู้หลายๆทฤษฎี 

ความคิดเห็น