(Simulation)

วิธีสอนแบบสถานการณ์จําลอง (Simulation)
เป็นกระบวนการให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพ คล้ายข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่น ในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
วัตถุประสงค์
วิธีสอนนี้จะมุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงและเกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือ เรื่องที่มีตัวแปรจํานวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
องค์ประกอบสําคัญ (ขาดไม่ได้)
ผู้สอน ผู้เรียน มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาท กติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง ผู้เล่นใน สถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กัน หรือมีกับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการ ให้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นใน มีการอภิปรายสภาพการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่นเพื่อการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน
ขั้นตอนสําคัญ (ขาดไม่ได้)
1.ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จําลอง
2.ผู้สอนเสนอสถานการณ์จําลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
3. ผู้เรียนเลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอนกําหนดบทบาทให้ผู้เรียน
4. ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กําหนด
5. ผู้สอน ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์วิธีการ พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น
6. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดี
1. ช่วยให้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่ประจักษ์ ชัดด้วยตนเอง
2. ช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก เช่น กระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ กระบวนการสื่อสาร กระบวนตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิด
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน สนุก มีความหมาย
ข้อจํากัด
1. ค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามากในการเล่นและการเตรียมการ
2. เป็นวิธีการที่พึ่งสถานการณ์จําลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จําลองที่ตรงกับจุดประสงค์หรือ ความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเองถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะ ไม่สามารถสร้างได้
3. การให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลายจะเป็นการยากสําหรับผู้สอนในการ นําการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์


ความคิดเห็น