2.กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์

2. กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
สุมน อมรวิวัฒน์ (2542: 196-199) ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมืองสาขาการศึกษาคณะครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตรไว้ว่า เป็นกระบวนการประสานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1. ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2. ชี้สุขเกษมศานต์กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้ คือ หลักอริยสัจ 4 มาใช้ควบคู่กับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน 8 ขั้นด้วยกันดังนี้
1. หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ ได้แก่ การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรัก เป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้ มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ สามารถสื่อสาร ชี้แจงให้ศิษย์เกิดความเข้าใจ แจ่มแจ้ง มีความอดทน พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา และมีความตั้งใจสอนด้วยความเมตตา ช่วยให้ผู้เรียนพ้นจากทางเสื่อม
2. การกำหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
3. การร่วมกันคิดวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
4. การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญหา (ขั้นสมุทัย)
5.การกำหนดจุดหมาย หรือสภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
6.การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
7. การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
8.การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง (ขั้นมรรค)

ความคิดเห็น