6.มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ

6. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
ทิศนา แขมมณี และคณะ (๒๕๔๓) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6  ด้านคือ
1.มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่ใชในการคิดและกระบวนการคิด คือต้องมีการคิดอะไรควบคู่ไปกับการคิดอย่างไร ซึ่งเรื่องหรือข้อมูลที่คิดนั้น มีจำนวนมากเกินกว่าที่จะกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม อาจจัดกลุ่มใหญ่ๆ ไว้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ (โกวิท วรวิพัฒน์ อ้างถึงในอุ่นตา นพคุณ,2530 : 29-56)
2,มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคล ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการคิด เช่น ใจกว้าง ความใฝ่รู้ความกระตือรือร้น ความกล้าเสี่ยง เป็นต้น
3.มิติดานทักษะการคิด หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งจัดได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (basic thinking skills) ประกอบด้วยทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น ทักษะการอ่าน การพูด การเขียน ฯลฯ และทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skills) เช่นทักษะการนิยาม การสร้าง การสังเคราะห์ การจัดระบบ ฯลฯ ทักษะการคิดขั้นสูงมักประกอบด้วย กระบวนการ หรือขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ำกว่า
4.มิติด้านลักษณะการคิด เป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูง จำเป็นต้องมีการตีความให้เห็นรูปธรรม จึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดชัดเจนขึ้น เช่น การคิดกว้าง กาคิดลึกซึ้ง การคิดละเอียด เป็นต้น
5.มิติด้านกระบวนการคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักหลายขั้นตอนซึ่งจะนำผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้น โดยขั้นตอนหลักเหล่านั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดย่อยๆ จำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการวิจัย เป็นต้น
6.มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตน (metacognition) เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการควบคุมกำกับการรู้คิดของตนเอง มีผู้เรียนการคิดลักษณะนี้ว่า เป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (strategic thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผน การควบคุมกำกับการกระทำของตนเอง การตรวจสอบความก้าวหน้า และประเมินผล
นอกจากการนำเสนอมิติการคิดข้างต้นแล้ว ทิศนา แขมมณี และคณะ ยังได้นำเสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการคิดทั้งของต่างปะเทศและของประเทศไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผล ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณญาณกลั่นกลอง ไตร่ตรอง ทั้งทางดานคุณ-โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว
เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสามารถดังนี้
1.สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
2.สามารถระบุประเด็นในกาคิดอย่างชัดเจน
3.สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิดทั้งทางดานกว้าง ทางลึก ทางไกล
4.  สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
5.สามารถประเมินข้อมูลได้
6.สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล และเสนอคำตอบ/ทางเลือกที่จะสมเหตุสมผลได้
7.สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1.ตั้งเป้าหมายในการคิด
2.ระบุประเด็นในการคิด
3.ประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทั้งทางกว้าง ลึก และไกล
4.วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้
5.ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ
6.ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก/คำตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี
7.เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมา และคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น
8.ชั่งน้ำหนัก ผลได้ ผลเสีย คุณ-โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว
9.ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
10.ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด

ความคิดเห็น