8.1ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
1.ตระหนักในปัญหาแบะความจำเป็น
          ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจะเป็นของเรื่องที่ศึกษา หรือเห็นประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาเรื่องนั้นๆ โดยครูอาจนำเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบเช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
2,คิดวิเคราะห์วิจารณ์
          ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัด และให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
3.สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย โดยร่วมกันคิดเสนอทางเลือก และอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
4.ประเมินและเลือกทางเลือก
ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาและร่วมกันสร้างเกณฑ์โดยคำนึงถึงปัจจัย วิธีดำเนินการ ผลผลิต ข้อจำกัด ความเหมาะสม กาลเทศะ เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใชวิธีระดมพลังสมอง อภิปราย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฯลฯ
5.กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
          ให้ผู้เรียนวางแผนในการทำงานของตนเองหรือกลุ่มโดยอาจใช้ลำดับขั้นการดำเนินงานดังนี้
5.1 ศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
5.2กำหนดวัตถุประสงค์
5.3กำหนดขั้นตอนการทำงาน5.4กำหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทำร่วมกับเป็นกลุ่ม)
5.5กำหนดระยะเวลาการทำงาน
5.6กำหนดวิธีการประเมิน
6.ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
             ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจมีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทำงาน
          7.ประเมินระหว่างปฏิบัติ
          ให้ผู้เรียนสำรวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยการซักถามอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงานามขั้นตอนและตามแผนงานที่กำนหนดไว้ โดยสรุปผลการทำงานแต่ะลช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงานขั้นต่อไป
          8.ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
          ผู้เรียนนำผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          9.ประเมินผลรวมเพื่อเกิดความภาคถูมิใจ
          ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และผลพลอยได้อื่นๆ ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ

ความคิดเห็น